วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การลดขนาดไฟล์ภาพ BMP ด้วยการแปลงไฟล์

ไฟล์ภาพที่เราใช้ทำงานไม่ว่าจะเป็น เอกสาร หรือ แม้แต่ไฟล์เซ้บเพจนั้น ไฟล์ Bmp นั้นจะใหญ่มากเนื่องจากความคมชัดที่มีมากนั่นเอง แต่ทั้งนี้หากเรานำรูปนั้นมาจัดทำเว็บไซต์ แน่นอนว่าเวลาในการโหลดเว็บเพ็จที่มีไฟล์ภาพ BMP นั้นย่อมจะทำให้ กินระยะเวลานานทำให้ผู้เข้าชมเบื่อหน่าย แต่เรามีวิธีการที่จะจะลดขนาดไฟล์ลงได้มาก ซึ่งวิธีการทำนั้นไม่ได้ยากเย็นอะไรนัก นั่นคือการแปลงไฟล์ Bmp ให้อยู่ในรูปของไฟล์ image ที่มี Format อื่นๆ ซึ่งจะทำให้ภาพมีขนาดลดลงมาอย่างมากทีเดียว แต่ก็ทำให้ภาพซึ่งแปลงมานี้มีคุณภาพที่ลดด้อยลงเช่นกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดไฟล์แล้ว เรียกได้ว่ากินขาดกันเลยทีเดียว เพราะคุณภาพลดลงไม่มาก แต่ขนาดไฟล์นั้นลดลงได้อย่างเหลือเชื่อเลยล่ะ

มาเข้าขั้นตอนการทำกันเลยดีกว่า

1. ก่อนอื่นให้เปิดโปรแกรม ACD See ขึ้นมาก่อน เครื่องใหนไม่มีก็ให้หามาติดตั้งนะครับ
2. หลังจากนั้นก็ให้คลิ๊กที่รูปที่ต้องการแปลง จะทำพร้อมกันหลายรูปก็ได้ครับ โดย กด Ctrl ค้างไว้แล้วเลือกไฟล์
3. จากนั้นให้คลิ๊กขวาครับ แล้วเลือก Convert เพื่อเปิดหน้าต่างแปลงไฟล์
4. หน้าต่างนี้จะมีให้เลือกว่าจะแปลงไปในรูปแบบใด ขอแนะนำให้แปลงเป็น Gif ครับ ด้านล่างก็ให้กำหนดไดเรคทอรี่ที่ต้องการให้เก็บไฟล์ที่แปลงครับเพราะว่าโปรแกรมจะไม่ลบไฟล์ต้นฉบับที่เป็น BMP ไปนะครับ ถ้ากำหนดแล้วก็ให้ OK เลย
5. โปรแกรมก็จะทำการแปลงไฟล์จนเสร็จแล้วก็จะนำไฟล์ไปเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่กำหนดไว้ครับ

จะเห็นได้ว่าขนาดของไฟล์ลดลงมาก จาก 343 KB เหลือ 2 KB ลดลองถึง 341 เท่าตัวเลยครับ นอกจากไฟล์ Gif แล้ว ถ้าเราแปลงเป็นรูปแบบอื่น เช่น Gif , Jpg เป็นต้น เราก็จะได้คุณภาพของภาพ - ขนาดไฟล์แตกต่างกันออกไปครับ และขนาดของไฟล์ที่ลดได้ก็ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของภาพด้วยเช่นกันครับ

การเรียกใช้โปรแกรม Registry Editor

โปรแกรม Registry Editor จะช่วยให้เราสามารถปรับแต่งค่าต่าง ๆ ที่อยู่ภายใน Registry ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากขึ้น โดยโปรแกรมจะเข้าไปดึงข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ SYSTEM.DAT และ USER.DAT มาแสดงผลในรูปแบบของคีย์ทั้ง 6 หลักนั่นเอง โดยเราจะมีขั้นตอนในการเรียกใช้โปรแกรม Registry Editor ดังนี้
1. คลิกที่ Start > Run
2. เมื่อหน้าต่าง Run ปรากฎขึ้น ให้พิมพ์คำว่า regedit ลงในช่อง Open





วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การทำ Multi Boot สำหรับใช้งาน Windows หลายระบบในเครื่องเดียวกัน

ถามกันมามากนะครับ ว่าจะลง Windows หลาย ๆ รุ่นในเครื่องเดียวกัน และให้สามารถเลือกบูตเข้าระบบที่ต้องการได้อย่างไร วันนี้ก็เลยเขียนคำแนะนำ วิธีการทำ Multi Boot สำหรับท่านที่ต้องการลง Windows หลาย ๆ ระบบมาให้ดูกันครับ โดยโปรแกรมที่เป็นพระเอกของเรื่องนี้คือ Partition Magic กับ Boot Magic ครับ
ก่อนอื่น ต้องขอบอกก่อนว่า บทความต่อไปนี้ อยากจะแนะนำสำหรับท่านที่พอจะลง Windows ด้วยตัวเองเป็นแล้วเท่านั้น เพราะในบางขั้นตอน อาจจะค่อนข้างยุ่งยาก และต้องอาศัยความเข้าใจในระบบของ ฮาร์ดดิสก์กันสักหน่อยครับ ดังนั้น ผมจะไม่แสดงขั้นตอนแบบละเอียดมากนัก เอาแค่พอเป็นแนวทางเท่านั้นพอครับ หากใครคิดจะทดลองทำดู ก็ตามผมมาได้เลยครับ
เริ่มต้นจากหาดาวน์โหลดโปรแกรม Partition Magic และ Boot Magic มาเตรียมไว้ก่อนนะครับ เพราะว่าถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำ Multi Boot นี้ครับ ลองหาที่ http://kickme.to/fosi ดูน่าจะมี หลังจากนั้น ให้ทำการวางแผนการแบ่ง พาร์ติชั่นของฮาร์ดดิสก์ ไว้เพื่อรองรับ Windows รุ่นต่าง ๆ ให้เรียบร้อย ยกตัวอย่างของผมที่กำลังจะทำให้ดู เป็นฮาร์ดดิสก์ขนาด 80G. โดยได้วางแผนการแบ่ง พาร์ติชั่นไว้ดังนี้

- 5G. สำหรับลง Windows 98
- 5G. สำหรับลง Windows Me
- 6G. สำหรับลง Windows XP
- และสำหรับเก็บข้อมูลอีก 20G. และ 40G. ครับ

จำนวนของพาร์ติชั่นของฮาร์ดดิสก์ที่จะแบ่ง ก็แล้วแต่จะกำหนดกันให้เหมาะสมนะครับ อย่างน้อยก็ 1 พาร์ติชั่น ต่อวินโดวส์ 1 ระบบ ส่วนวิธีการแบ่งพาร์ติชั่น ก็อาจจะใช้ FDISK หรือจะใช้ Partition Magic แบ่งก็ได้ครับ หลังจากที่แบ่งและเตรียมความพร้อม รวมทั้งโปรแกรม Partition Magic กับ Boot Magic เรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มต้นกันเลยครับ โดยตัวอย่างต่อไปนี้ ผมจะลง Windows 98, Windows Me และ Windows XP รวมทั้งหมดเป็น 3 ระบบ ในฮาร์ดดิสก์ตัวเดียวกันครับ

ขั้นตอนแรก ทำการลง Windows 98 ไปที่ไดร์ฟ C: ก่อน โดยมีขั้นตอนและวิธีการลงตามปกติทุกอย่าง จัดการลง Driver ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เรียบร้อยครับ (สำหรับท่านที่ใช้งาน Windows ตัวเดิมอยู่แล้วก็อาจจะไม่จำเป็น เพียงแค่ใช้ Partition Magic ทำการแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ที่เหลือให้เป็น พาร์ติชั่นใหม่สำหรับ Windows ระบบอื่น ๆ ก็พอแล้ว)

หลังจากนั้น ก็ทำการติดตั้งโปรแกรม Partition Magic และ Boot Magic ลงไปทั้งสองโปรแกรมครับ โดยขั้นตอนการติดตั้ง โปรแกรม Boot Magic จะมีขั้นตอนของการทำ Boot Magic Rescue Diskettes ด้วย ห้ามข้ามขั้นตอนนี้ไปเด็ดขาดครับ ขอให้ทำแผ่นบูตสำหรับโปรแกรม Boot Magic ไว้ด้วยแผ่นดิสก์ 1 แผ่นครับ เพราะคุณจำเป็นต้องใช้งานมันแน่นอน

ขั้นตอนแรก ทำการเปลี่ยนชนิดของ partition จาก Logical เป็น Primary ก่อน
เอาหละครับ เพื่อทุกอย่างพร้อมแล้วก็ลงมือกัน หลักการทำ Multi Boot ก็ง่าย ๆ ครับคือ ให้ทำการเปลี่ยนชนิดของ partition ที่ต้องการให้บูตได้จาก Logical เปลี่ยนเป็น Primary จากนั้น ก็ใช้โปรแกรม Boot Magic ทำการกำหนดลำดับของการเลือกบูต จากพาร์ติชั่นที่ต้องการ เท่านี้ครับ

ลงมือทำการเปลี่ยนชนิดของ partition ที่จะลง windows ให้เป็น Primary ก่อนโดยเรียกโปรแกรม Partition Magic ขึ้นมา




อันนี้เป็นภาพที่ ผมได้ทำการแบ่งฮาร์ดดิสก์เตรียมไว้แล้วนะครับ ดูที่ตำแหน่งเมาส์ชี้อยู่จะเป็นว่า ไดร์ฟ D: และ E: จะยังเป็นแบบ Logical อยู่ ต้องทำการเปลี่ยนตรงนี้ให้เป็น Primary ครับ โดยกดเลือกที่ partition ที่ต้องการจะเปลี่ยน แล้วเลือกเมนู Partition >> Convert ครับ




เลือกที่ช่อง Primary partition แล้วกด OK ครับ ทำแบบนี้ในทุก ๆ partition ที่ต้องการลง Windows เมื่อครบแล้วก็กดเลือกที่ Apply เพื่อทำการเปลี่ยน partition ต่อไปครับ ในกรณีที่มีการลง Drive Mapper ไว้ด้วย หากมีการถาม Warning.... ตามภาพ




ก็เลือก No ไปเลยนะครับ จากนั้นก็รอให้โปรแกรม ทำงานไปจนเสร็จ แล้วออกจากโปรแกรม Partition Magic และทำการ บูตเครื่องใหม่ก่อน 1 ครั้งครับ เท่านี้ก็เสร็จขั้นตอนแรกแล้ว


ขั้นตอนต่อไป ใช้โปรแกรม Boot Magic เพื่อกำหนดการเลือกบูตระบบ
ต่อไป ให้ทำการเรียกโปรแกรม Partition Magic ขึ้นมาโดยหน้าตาของโปรแกรมจะเป็นตามภาพด้านล่าง




จะเห็นว่า มีเพียงแค่ partition เดียวที่ลง Windows 98 ไว้แล้วเท่านั้น ดังนั้น ต้องทำการเพิ่มรายการของ Partition ที่ต้องการให้เลือกบูตได้ โดยกดที่ปุ่ม Add เพื่อเพิ่มการเลือกบูตจาก partition อื่น



ทำการเลือก partition ต่อไปที่ต้องการและกดปุ่ม OK ครับ จะได้ตามภาพด้านล่าง



ใส่ชื่อของระบบ ที่จะแสดงตอนเลือกบูตลงไปในช่อง Name และกดปุ่ม OK ครับ จากนั้นก็ทำการเพิ่ม partition ต่อไปเรื่อย ๆ จนครับตามต้องการ เช่นตัวอย่างของผมจะมี 3 Windows ให้เลือก



จากนั้น กำหนดค่าต่าง ๆ ดังนี้

- Set as Default สำหรับการกำหนดว่า ถ้าไม่เลือก จะเป็นการบูตเครื่องจากที่ใด
- Reorder เป็นการเลื่อนลำดับของเมนูและ partition ว่าจะให้แสดงอันไหนก่อนกัน
- Startup Delay เลือกว่า จะให้หน่วงเวลาเท่าไร ถ้าไม่มีการเลือก ผมแนะนำให้ตั้งไว้เป็น Timed 2 Seconds ครับ
- BootMagic Enabled เป็นการเลือกให้มีเมนูของการบูตเครื่อง ถ้าไม่เลือกก็จะบูตจาก partition แรกครับ
- Save/Exit เก็บค่าที่ตั้งไว้และออกจากระบบ

เสร็จแล้วครับ ต่อไปนี้ หากทำการบูตเครื่องใหม่ จะมีข้อความของการทำงาน Boot Magic แสดงให้เลือกครับ



และถ้าหากเราไม่ทำการ กดคีย์บอร์ด หรือขยับเมาส์ใด ๆ เลย โปรแกรมก็จะหน่วงเวลาไว้ 2 วินาทีก่อนที่จะบูตจาก partition ที่เราเลือกเป็น default ครับ แต่ถ้าหาก เราเพียงแค่ขยับเมาส์ หรือกดปุ่มบนคีย์บอร์ด เมนูของการเลือกระบบ ก็จะแสดงและเราสามารถเลือกบูตจาก partition ต่าง ๆ ได้ครับ

ของแถมอีกหน่อยคือ หากจะให้การใช้งาน Windows หลาย ๆ ระบบเป็นไปด้วยความง่ายดาย ก็สามารถทำได้โดยหลักการคือ ทำการซ่อน partition ที่ไม่ต้องการไปซะ เช่น เมื่อบูตเครื่องด้วย Windows 98 ก็จะทำการซ่อน partition ของ Me กับ XP ไปก่อนไม่ให้มองเห็น จะช่วยให้เราสามารถจำชื่อไดร์ฟ และใช้งานได้สะดวกขึ้นครับ โดยปกติแล้ว ถ้าเราทำการเปลี่ยนชนิดของ partition จาก Logical ไปเป็น Primary แล้ว จะทำให้ระบบ ไม่สามารถมองเห็น Primary Partition ตัวอื่น ๆ ได้อยู่แล้วครับ ดังนั้น กรณีเช่นนี้ ไม่ต้องทำอะไร

แต่ถ้าหาก ท่านใดต้องการที่จะทำให้ สามารถมองเห็น partition ของตัวอื่น ๆ ได้ด้วย ก็สามารถกำหนดได้ โดยการเลือกที่ partition ที่ต้องการตั้งค่า แล้วกดปุ่ม Properties >> Visible Partitions ครับ



หากต้องการให้การบูต สามารถมองเห็น partition อื่น ๆ ได้ด้วยก็เลือกที่ช่อง Override Default Selection และเลือกที่ Partition ที่ต้องการให้มองเห็นได้เลย จากนั้นก็กดปุ่ม OK ครับ

ขั้นตอนต่อไป การลง Windows ตัวอื่น ๆ
ต่อไป ก็ทำการลง Windows ตัวอื่น ๆ ที่ต้องการ โดยที่ ก่อนที่จะทำการลง Windows จะต้องทำการเลือก Partition Default ให้เป็น Partition ที่ต้องการก่อนนะครับ เช่น ผมต้องการลง Windows Me ก็ต้องทำการเลือกให้ Partition ของ Windows Me เป็นค่า Default = Yes ไว้ก่อน แล้วค่อยบูตเครื่องใหม่จากแผ่นดิสก์ หรือจากซีดี เพื่อจะลง Windows ต่อไปครับ

หากไม่ทำการเลือกบูตระบบของ Windows ที่ต้องการไว้ อาจจะทำให้ขั้นตอนของการติดตั้ง Windows ตัวที่สอง มามองเห็นระบบ Windows ของตัวแรก และอาจจะทำให้มีปัญหาก็ได้ครับ

ปัญหาต่อมาที่จะพบคือ เมื่อทำการลง Windows อีกตัวใน partition ใหม่แล้ว บางครั้ง เราจะไม่สามารถใช้งาน Boot Magic เพื่อเลือกระบบได้ ตรงนี้แหละที่ผมแนะนำให้ทำแผ่นดิสก์ของโปรแกรม Boot Magic ไว้ เพราะว่า เพื่อลง Windows ต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว เราสามารถบูตเครื่องจากแผ่นดิสก์นี้ และเข้าไปทำการ Enable โปรแกรม Boot Magic ให้ใช้งานได้อีกครั้งครับ

จากการทดลองของผม คือแบ่งขนาดของฮาร์ดดิสก์ตามที่บอก และทำการลง Windows 98, Me และ XP ตามขั้นตอนที่เขียนมาจนจบ ทดลองใช้งานดูก็ OK ดีครับ สบาย ๆ ไม่พบปัญหาอะไรครับ

การดีแฟรกเม้นท์ (Defragment)

เมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ ย่อมจะต้องมีการบันทึกข้อมูล การลบ และ การเคลื่อนย้ายอย่างขาดเสียไม่ได้ ดังนั้นข้อมูลฮาร์ดดิสก์ของคุณจะต้องกระจัดการะจายไปเป็นอย่างมากทีเดียว
ดังนั้นการอ่านข้อมูลก็ต้องช้าลง เพราะข้อมูลนั้นกระจัดกระจายไปอยู่คนละมุมของฮาร์ดดิสก์ หรือ เกิดช่องว่างระหว่างข้อมูลขึ้นนั่นเอง เหมือนกับ ห้องที่รกๆ การหาของอย่างหนึ่งก็เป็นไปด้วยความลำบาก การที่จะให้หาเจอได้ง่ายๆ ก็คือ ทำความสะอาดห้อง แล้ว จัดให้เป็นระเบียบ จะได้หาได้ง่ายๆ ดูไปก็สบายตา เช่น เดียวกับคอมพิวเตอร์ เราก็ต้องจัดการเรียงข้อมูลเหล่านั้นให้เป็นระเบียบเรียบร้อย การเรียกใช้งานก็ง่าย สะดวกรวดเร็ว ฮาร์ดดิสก์ไม่ต้องทำงานหนักมาก
การจัดเรียงที่พูดถึงนี้ง่ายมากครับ ด้วยการใช้โปรแกรมที่มีมาให้แล้ว พร้อมกับวินโดวน์ เริ่มต้นจัดกันเลยดีกว่า
เริ่มจากคลิ๊กที่ Start
แล้วไปที่ Programs
และไปที่ Accessories
และ ไปที่ System Tools


จากนั้นจะเห็นไอคอน ดีแฟรก ให้เลือกไอคอนนี้ เมื่อเริ่มต้น โปรแกรมจะให้เลือกไดรว์ที่จะจัดเรียงข้อมูล หากเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณแบ่งเป็นหลาย พาร์ติชั่นก็ให้เลือก all hard drive เลยจะดีกว่า ทำทั้งทีให้มันหมดไปเลย
เมื่อคลิ๊กโอเคโปรแกรมก็จะทำการจัดเรียงข้อมูลไปตามหน้าที่ของมัน ในระหว่างนี้เราห้ามเปิดโปรแกรมอื่นใช้งานเลยนะครับ ปล่อยให้มันทำงานไปจนเสร็จครับ อาจจะนานหน่อย แล้วแต่ว่าข้อมูลคุณมีมากขนาดใหน แต่ผลที่ได้มามันก็ดีไม่ใช่หรือครับ
ระหว่างทำงาน ถ้าคุณคลิ๊กที่ Show Details โปแกรมก็จำลองเนื่อที่ในฮาร์ดิสก์ว่าตรงไหนว่าง ตรงไหนเป็นข้อมูล ซึ่งจะแยกสีไว้ให้เห็น ซึ่งถ้าอยากรู้ความหมายของแต่ละสีก็คลิ๊กที่ Legend เพื่อดูว่าหมายถึงอะไรได้ครับ เมื่อทำงานเสร็จแล้ว ข้อมูลของคุณก็จะเป็นระเบียบซึ่งง่ายต่อการเรียกใช้งานด้วยนะครับ

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเข้า Safe Mode เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากซอฟต์แวร์

การเข้าสู่ Safe Mode เป็นอีกวิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากซอฟต์แวร์ที่เราได้ ติดตั้งลงไป เพราะในโหมดนี้จะข้ามการทำงาน Registry , ไดรเวอร์ของฮาร์ดแวร์และค่าต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ กำหนดไว้ ดังนั้นขั้นตอนการบูตเข้า Safe Mode จึงไม่เสียหายจากการทำงานเหล่านี้ ดังนั้น จึงควรเรียนรู้การใช้งาน Safe Mode ด้วย เพราะจะช่วยแก้ปัญหาในหลายๆ เรื่องได้เป็นอย่างดี หากเครื่องมีปัญหาไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้ จะแก้ปัญหาโดยการเข้าสู่ Safe Mode แล้วเข้าไปแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ตามต้องการ เช่น หากปัญหาที่เกิดจากการติดตั้งไดรเวอร์ ก็ให้เข้า Safe Mode แล้วเข้าไปลบไดรเวอร์ตัวนั้นทิ้งไป หากมีปัญหาจากการติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ก็ให้เข้าไปที่ Add / Remove Programs ใน Safe Mode แล้วคลิกเลือกโปรแกรมที่สร้างปัญหาทิ้งไป
ซึ่งการเข้า Safe Mode ก็สามารถทำได้ดังขั้นตอนต่อไปนี้ให้บูตเครื่องขึ้นมาใหม่ จากนั้นกดปุ่ม F8 บนคีย์บอร์ดย้ำ ๆ (หรือกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้) แล้วจะปรากฏเมนูขึ้นมาดังนี้

1. Normal
2. Logged (\ BOOTLOGE.TXT)
3. Safe Mode
4. Step-by-step confirmation
5. Command prompt only
6. Safe modecommand promt only


ให้เลือกที่หัวข้อ 3 Safe Mode เท่านี้เราก็จะสามารถเข้า Safe Mode เพื่อเข้าไปแก้ปัญหาต่างๆ ได้แล้ว

การแก้ปัญหาครื่องแฮงค์

1. เครื่องแฮงค์เพราะไดรเวอร์
ไดรเวอร์ คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการหรืออธิบายง่ายๆ ก็คือคอยทำหน้าที่แนะนำให้ระบบปฏิบัติการรู้จักและทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ได้นั่นเอง ดังนั้นหากอุปกรณ์ตัวไหนที่ไม่ได้ลงไดรเวอร์ ก็อาจทำให้ระบบปฏิบัติการไม่รู้จัก จึงไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ ดูแล้วไดรเวอร์ ไม่น่าจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดปัญหาใช่มั้ยครับ แต่เนื่องจากว่า บางครั้งไดรเวอร์ที่เป็นเวอร์ชั่นใหม่ไม่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ตัวเก่าได้ มีผู้ใช้หลายคนยกเครื่องมาให้ ช่างคอมพิวเตอร์ตรวจเช็คเนื่องจากปัญหาเครื่องแฮงค์บ่อยพอสอบถามถึงปัญหาก็พบว่าผู้ใช้ได้เคยอัพเดท ไดรเวอร์รุ่นใหม่ที่ดาวน์โหลดมาจากเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อตรวจเช็คแล้วก็พบว่าไดรเวอร์ที่ผู้ใช้ อัพเดทนั้นเป็นไดรเวอร์รุ่นทดสอบที่หลายเว็บไซต์มักชอบนำมาให้ดาวน์โหลดไปทดสอบกันดูก่อน เมื่อไดรเวอร์ยังไม่สมบูรณ์ จึงยังไม่สามารถทำงานเข้ากับฮาร์ดแวร์ บางตัวได้จึงทำให้เกิดปัญหาเครื่องแฮงค์ นั่นเอง ซึ่งปัญหานี้พบได้บ่อยมาก
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาของช่างคอมพิวเตอร์ก็คือ ให้สอบถามพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ก่อน หากพบเครื่องที่มีอาการแฮงค์หลังจากที่ผู้ใช้อัพเดทไดรเวอร์ลงไปให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเกิดจากสาเหตุนี้ วิธีแก้ปัญหาก็คือให้จัดการถอดไดรเวอร์ที่มีปัญหานั้นทิ้งไป แล้วลงไดรเวอร์ตัวเก่าที่เคยใช้งานได้ดีกลับไปเหมือนเดิม โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ให้คลิกขวาที่ไอคอน My Computer > Properties
2. ที่หน้าต่าง System properties ให้คลิกแท็ป Device Driver
3. จากนั้นคลิกขวาที่ไดรเวอร์ของอุปกรณ์ที่มีปัญหา แล้วเลือกคำสั่ง Remove ไดรเวอร์นั้นออกไปแล้วลงไดรเวอร์ตัวเก่าที่เคยใช้งานได้ดีกลับไปเหมือนเดิม

แต่บางครั้งไดรเวอร์ที่มากับอุปกรณ์ตั้งแต่ตอนแรกที่ซื้อมา ก็อาจทำให้มีปัญหาได้เหมือนกัน โดยจะ พบบ่อยมากในไดรเวอร์ของการ์ดแสดงผล 3 มิติ และซาวด์การ์ดยี่ห้อโนเนมทางแก้ปัญหาคือ ต้องไปดาวน์โหลดไดรเวอร์เวอร์ชั่นใหม่จากเว็บไซต์ของผู้ผลิตอุปกรณ์ยี่ห้อที่ใช้อยู่เท่านั้น ไม่ควรไปดาวน์โหลดจากเว็บไซต์อื่น เพราะจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้

2. เครื่องแฮงค์เพราะโปรแกรมแอพพลิเคชั่น
หลายครั้งที่อาการแฮงค์มักเกิดหลังจากโปรแกรมที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องเข้ากันไม่ได้ บางไฟล์ของโปรแกรมตัวหนึ่งอาจเข้าไปเปลี่ยนแปลงไฟล์บางตัวของระบบปฏิบัติการจึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นตามมาได้ ส่วนใหญ่มักเกิดจากไฟล์นามสกุล DLL ซึ่งเป็นไฟล์สาธารณะของระบบปฏิบัติการ ที่มักจะมีหลายโปรแกรมที่เราติดตั้ง เข้ามาขอใช้ไฟล์นามสกุล DLL ด้วย แต่บางโปรแกรมก็มีไฟล์ DLL เวอร์ชั่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าไฟล์ DLL ตัวเดิมของระบบปฏิบัติการ เมื่อเราติดตั้งโปรแกรมนี้ลงไปมันก็จะเขียนไฟล์ DLL ตัวใหม่ทับตัวเก่าทันที จึงทำให้เกิดปัญหาเครื่องแฮงค์ตามมา เพราะไฟล์ DLL เวอร์ชั่นใหม่ไม่สามารถทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการได้
สำหรับแนวทางแก้ไขของช่างคอมพิวเตอร์ก็คือ ให้สอบถามพฤติกรรมของการใช้งานของผู้ใช้ก่อน เมื่อพบเครื่องที่มีลักษณะเครื่องแฮงค์หลังจากที่ผู้ใช้ลงโปรแกรมตัวใหม่ลงไป ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าอาจ มาจากสาเหตุนี้ วิธีการแก้ไขก็คือ
หากเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบนวินโดวส์ 98 / Me ให้บูตเครื่องด้วยแผ่นบูตแล้วพิมพ์คำสั่ง Scanreg / restore เพื่อเป็นการย้อนกลับไปใช้รีจีสทรีที่วินโดวส์ได้แบ็คอัพเก็บไว้ 5 วันหลังสุด ก็ให้เราเลือกวันที่คิดว่ายังไม่เกิดปัญหาเพียงเท่านี้ก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ครับ
สำหรับวินโดวส์ Me และวินโดวส์ XP ก็สามารถใช้โปรแกรม System Restore เพื่อย้อนกลับไปยังวันที่ไม่เกิดปัญหาได้ โดยสามารถเรียกใช้โปรแกรมได้ดังนี้

1. คลิกปุ่ม Start > Program > Accessories > System Tools > System Restore
2. เมื่อปรากฏโปรแกรม System Restore ขึ้นมาให้คลิกที่ช่อง Restore my computer to earlier time แล้วคลิกปุ่ม Next
3. เลือกวันที่และจุด Checkpoint ที่คิดว่ายังไม่เกิดปัญหา โดยวันที่ที่สามารถย้อนกลับไปได้จะเป็นช่องหนาๆ เมื่อเลือกเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Next
4. จะมีหน้าต่างแสดงรายละเอียดของวันที่และจุด Checkpoint ที่ต้องการย้อนระบบกลับไป ให้เราคลิกปุ่ม Next แล้วโปรแกรมก็จะเริ่มทำการย้อนระบบกลับไปยังวันที่และจุด Checkpoint ที่เรากำหนด

กลุ่มอาการเสียของคอมพิวเตอร์

ลักษณะอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มอาการ ดังนั้นในการตรวจหาสาเหตุของอาการเสีย ก็ให้ดูว่าเป็นอาการเสียที่อยู่ในกลุ่มใด ดังนี้

  1. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องจากเสียง Beep Code
    ทุก ๆ ครั้งที่คุณเปิดใช้งานเครื่องครั้งแรก ก็จะได้ยินเสียง ปี๊ป ดังสั้น ๆ 1 ครั้ง แล้วเครื่องก็จะทำงานต่อตามปกติ แต่ถ้าเมื่อไรที่คุณได้ยินสียงมากกว่า 1 ครั้ง หรือมีเสียงดังยาว ๆ จากนั้นเครื่องก็หยุดนิ่ง ก็ทำใจไว้ได้เลยว่าเครื่องของคุณมีปัญหาแล้ว เมื่อคุณเจออาการแบบนี้ให้รีบปิดเครื่องทันที เพราะตราบใดที่เครื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะไม่สามารถใช้งานเครื่องได้จนกว่าจะแก้ปัญหาเสียก่อน เสียงปี๊ปที่เราได้ยินนี้จะถูกเรียกว่า Beep Code ซึ่งจะมีจำนวนครั้งไม่เท่ากัน และมีเสียงดังสั้นบ้างยาวบ้าง ลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันนี้เองที่บอกเราว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหา ดังนั้นถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ก็ต้องลองฟังให้ดีว่า ดังกี่ครั้ง สั้นยาวแบบไหน แล้วนำไปเทียบดูในตารางไบอสตามยี่ห้อของไบออส เพื่อจะรุ้ว่าอะไรคือต้นเหตุ แล้วจะได้หาทงแก้ไขต่อไป
  2. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องโดยดูจากข้อความที่แจ้งบนหน้าจอ
    การแจ้งปัญหาหรือความผิดปกติที่เครื่องตรวจพบด้วยข้อความบนหน้าจอ ซึ่งเราเรียกว่า Message Error นับป็นการแจ้งปัญหาอีกแบบหนึ่งที่มีประโยชน์ เพราะเราสามรถรู้ปัญหาได้ทันทีว่าอปกรณ์ตัวไหนทำงานผิดปกติ หรือไม่ก็รู้ว่าการทำงานส่วนใดมีปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาที่ง่ายขึ่น ตัวอย่างของข้อความที่ปรากฎให้เห็นบนหน้าจอบ่อย ๆ อย่างเช่น
    CMOS checksum Error
    CMOS BATTERY State Low
    HDD Controller Failure
    Diskplay switch not proper

    ดังนั้นถ้าคุณพบว่าเครื่องได้แจ้งปัญหาให้ทราบก็ให้รับหาทางแก้ไขโดยด่วน แต่ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ก็ให้จดข้อความบนหน้าจอไว้ เพื่อเอาไว้สอบถามผู้ที่สามารถให้คำแนะนำได้หรือเอาไวให้ช่างที่ร้านซ่อมดูก็ได้ เพื่อให้การตรวจซ่อมทำได้เร็วขึ้น
  3. ตรวจสอบอาการเสียโดยดูจากความผิดปกติของเครื่องที่สามารถสังเกตุ
    วิธีนี้คงต้องใช้ทักษะ ความรู้ และความชำนาญมากกว่า 2 แบบแรก เพราะจะเป็นอาการที่เครื่องไม่ได้มีอะไรแจ้งให้เราทราบเลยว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหาหรือเสียหาย มีแต่ความผิดปกติที่เราสามารถสังเกตุได้ทางกายภาพ อย่างเช่น เปิดสวิตซ์แล้วไฟไม่ติด , เสียบปลั๊กแล้วเครื่องก็เปิดทันที , เปิดใช้เครื่องได้ไม่ถึง 5 นาที ระบบก็ล่ม เป็นต้น จะเห็นว่าอาการดังกล่าวนี้เครื่องไม่ได้แจ้งอะไรให้เราทราบเลยนอกจากอาการผิดปกติที่เรารับรู้ได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้จึงจะต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์หรือช่างผู้ชำนาญ จึงจะสามารถวิเคราะห์ตรวบสอบ และทำการซ่อมแซมแก้ปัญหาได้
  4. ตรวจสอบอาการเสียที่เราสามารถระบุอุปกรณ์ได้เลย
    ปัญหาแบบนี้จะเป็นกับอุปกรณ์ที่เราใช้อยุ่เป็นประจำแต่ถ้าอยุ่ ๆ ไม่สามารถทำงาน หรือทำงานได้ไม่ดี เราก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเสีย อย่างเช่น ไดรว์ซีดีรอมไม่ทำงาน ภาพบนจอสั่นหรือกระพริบ ไดรว์ A ไม่ยอมอ่านแผ่น เป็นต้น จะเห็นว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของอุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ โดยตรง การตรวจสอบหรือตรวจเช็คจึงทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือน 3 แบบที่ผ่านมา
  5. ตรวจสอบอาการเสยที่เกิดจากการอัพเกรดอุปกรณ์ ไปจนถึงการปรับแต่งเครื่อง
    สิ่งที่ทำให้เครื่องเกิดปัญหาอีกอย่างก็คือ การเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนหรือปรับแต่งอุปกรณ์บางตัวก็ทำไห้เกิดปัญหาได้อีกเหมือนกัน เช่น อัพเกรดแรมแล้วเครื่องแฮงค์ Overclock ซีพียูจนไหม้ , ปรับ BOIS แล้วเครื่องรวน เป็นต้น จะเห็นว่าในสภาพเครื่องก่อนกระทำใด ๆ ยังทำงานได้ปกติอยุ่ แต่หลังจากที่มีการอัพเกรดหรือปรับแต่งเครื่องแล้วก็มีปัญหาตามมาทันที แล้วคุณจะทำอย่างไร ????? บีคอมมีคำตอบให้คุณ